วีซ่า เผย ความปลอดภัยคือกุญแจสำคัญในการใช้จ่ายด้วย Mobile Wallet ในไทย


Visa Token Service 1_resize.jpg

จากผลการสำรวจฉบับล่าสุดของวีซ่า พบว่า คนไทยให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยมากกว่าความสะดวกสบาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการชำระเงินด้วยบัตรแบบไร้สัมผัส (contactless card) หรือ โมบาย วอลเล็ต (mobile wallet) และมีแนวโน้มที่จะเลือกใช้วิธีชำระเงินผ่านระบบไร้สัมผัสมากขึ้นเมื่อพวกเขามั่นใจว่ามีมาตราการรักษาความปลอดภัยอยู่ในระดับที่สูงมากพอ

การศึกษาเรื่องวิธีการชำระเงินแบบไร้สัมผัสและกระเป๋าสตางค์ดิจิตอล (digital wallet) ของวีซ่านั้น พบว่าคนไทยส่วนมาก (82 เปอร์เซ็นต์) เชื่อว่าความปลอดภัยมีความสำคัญมากกว่าความสะดวกสบายเมื่อนึกถึงการชำระเงินผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่หรือระบบไร้สัมผัส  ด้วยการเติบโตอันรวดเร็วในด้านเทคโนโลยีทางการเงิน หรือ ฟินเทค (FinTech) ที่ภาครัฐบาลและเอกชนกำลังใช้แนวทางต่างๆ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภคในการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะเมื่อมีการทำธุรกรรมทางเงินผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่

คนไทยใช้เวลาอยู่กับอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆอย่างสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตประมาณ 160 นาทีต่อวัน  ซึ่งภายในสิ้นปี พ.ศ. 2559 นี้ คาดว่าจะมีจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนประมาณ 20 ล้านคนในประเทศไทยและคาดว่าจะสูงขึ้นถึง 24.5 ล้านคนภายในปี พ.ศ. 2562  แม้ว่าการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและการเป็นเจ้าของอุปกรณ์เคลื่อนที่สำหรับคนไทยอยู่ในอัตราที่สูง แต่ความเข้าใจเกี่ยวกับบริการทางการเงินผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ยังค่อยเป็นค่อยไป โดยส่วนหนึ่งเกิดจากผู้บริโภคชาวไทยยังไม่ตระหนักถึงความก้าวหน้าของความปลอดภัยในโลกออนไลน์และเทคโนโลยีเท่าที่ควร

นายสุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “เมื่อดูจากผลสำรวจของเราแล้ว พบว่า ยิ่งระบบการชำระเงินผ่านมือถือมีความปลอดภัยมาก คนไทยก็จะมีความเชื่อมั่นและเต็มใจที่จะชำระเงินผ่านระบบดังกล่าวมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นด้วยระบบความปลอดภัยทางการเงินที่แน่นหนาหลายชั้นของวีซ่า เราจึงมั่นใจว่าเราจะเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มจำนวนการทำธุรกรรมผ่านมือถือในการประเทศไทยได้อย่างแน่นอน”

นอกจากนี้ รายงานการศึกษาที่จัดทำโดย ยูโกฟ (YouGov) ในนามของวีซ่า ถึง ทัศนคติของคนไทย ควบคู่ไปกับประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่าง สิงคโปร์และมาเลเซีย ต่อการทำธุรกรรมการเงินผ่านมือถือและระบบไร้สัมผัส (Contactless Payment) ยังพบว่า สิ่งที่คนในกลุ่มประเทศนี้โดยเฉพาะในประเทศไทยยังกลัวมากที่สุดในการชำระเงินด้วย mobile wallet คือ กลัวว่าจะมีการแฮกมือถือมากถึง 73 เปอร์เซ็นต์ ถูกขโมยโทรศัพท์มือถือ 65 เปอร์เซ็นต์ และกลัวว่าจะถูกเรียกเก็บเงินจากรายการที่ไม่ต้องการจะจ่ายอีก 63 เปอร์เซ็นต์

“ในจำนวนผู้ทำแบบสอบถามทั้งหมด พบว่า มีเพียง 39 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เลือกพิจารณาการใช้ mobile wallet จากเครือข่ายบุคคลที่สาม ซึ่งในกลุ่มที่พิจารณาใช้นี้ พบว่ากว่า 74 เปอร์เซ็นต์ทราบว่า encrypted token หรือ ‘โทเค็น’ นวัตกรรมรหัสล็อคข้อมูลซึ่งสามารถตัดความเสี่ยงของการโดนโจรกรรมข้อมูลได้” นายสุริพงษ์ กล่าวเพิ่มเติม

บริการ Visa Token Service (VTS) ถูกออกแบบมาเพื่อให้ลูกค้าวีซ่ามั่นใจได้ว่าการชำระเงินแบบไร้สัมผัส (contactless payment) และบนสมาร์ทโฟนนั้นทั้งปลอดภัยและง่ายต่อการใช้งาน ระบบ VTS นั้นจะใช้รหัส                โทเค็นแบบใช้ครั้งเดียวในการชำระเงินแทนข้อมูลของผู้ถือบัตร ฉะนั้นผู้ใช้ mobile wallet จึงสามารถชำระเงินได้โดยไม่จำเป็นต้องเผยรายละเอียดของบัญชีและเลขหน้าบัตร 16 หลัก หรือวันหมดอายุของบัตร เป็นต้น

กระบวนการแปลงข้อมูลแบบให้เป็น โทเค็น นี้เรียกว่า Tokenization ซึ่งจะทำหน้าที่ซ่อนข้อมูลที่สำคัญของผู้บริโภคในระหว่างการทำธุรกรรมการเงินแบบดิจิตอล เมื่ออาชญากรขโมยโทเค็นไปก็ไม่สามรถนำข้อมูลไปใช้ได้จากผลการสำรวจเผยให้เห็นว่าคนไทยประมาณ 55 เปอร์เซ็นต์คุ้นเคยกับรูปแบบการบริการ VTS เป็นอย่างดี ในขณะที่กลุ่มที่รับรู้สูงที่สุดในหมู่คนเหล่านี้ยังคุ้นเคยกับเทคโนโลยีในรูปแบบ mobile wallet อีกด้วย

คนไทยเกือบครึ่ง (46 เปอร์เซ็นต์) เชื่อว่าการชำระเงินผ่านอุปกรณ์พกพานั้นปลอดภัยเทียบเท่ากับการชำระเงินผ่านบัตรโดยตรง และมีแนวโน้มว่าตัวเลขนี้จะสูงขึ้นในอนาคตเพราะคนเริ่มคุ้นเคยกับระบบการชำระเงินผ่าน    มือถือที่มีความก้าวหน้าและทันสมัยของวีซ่า

นอกจากนี้คนไทยสามในห้า (61 เปอร์เซ็นต์) เชื่อว่าในวันหนึ่งข้างหน้าพวกเขาไม่จำเป็นต้องพกเงินสดหรือบัตรพลาสติกในการใช้ชีวิตประจำวันอีกต่อไป และจะถูกแทนที่ด้วยการชำระเงินในรูปแบบ mobile wallet ผ่านสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์เคลื่อนที่ของพวกเขา

เมื่อคนไทยเริ่มคุ้นเคยกับมาตรการรักษาความปลอดภัยด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างนวัตกรรมโทเค็นของวีซ่า เมื่อนั้นพวกเขาจะเริ่มเห็นเรื่องการชำระเงินผ่านโทรศัพท์หรือการชำระเงินแบบไร้สัมผัสเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันของพวกเขามากยิ่งขึ้น”

Visa และ LINE ประกาศพันธมิตรการค้า ประเดิมเปิดตัวแคมเปญแรก “Visa LINE Go for Gold”


line12

LINE ประกาศตัวเป็นพันธมิตรทางการค้าร่วมกับ Visa อย่างเป็นทางการ ครั้งแรกกับความร่วมมือสองยักษ์ใหญ่ ระหว่างผู้นำด้านแพลตฟอร์มบนมือถือระดับโลก กับผู้นำด้านระบบเครือข่ายการชำระเงินนที่รวดเร็ว และปลอดภัยระดับโลก  พร้อมประเดิมเปิดตัวแคมเปญแรกภายใต้ชื่อ “Visa LINE Go for Gold”

แคมเปญ “Visa LINE Go for Gold” เปิดโอกาสให้คุณร่วมลุ้นเป็นผู้โชคดีรับแพคเก็จทัวร์ชมโอลิมปิกเกมส์ 2016 ถึงถิ่นแซมบ้า เมืองรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิลในเดือนสิงหาคม 2559 นี้ 1 รางวัล และลุ้นรับสร้อยคอทองคำ 50 สตางค์อีก 60 รางวัลฟรี! พิเศษ เฉพาะผู้ใช้จ่าผ่านบัตร Visa ด้วย LINE Pay ตั้งแต่วันนี้ – 15 พฤษภาคม 2559 นี้เท่านั้น โดยนับเป็นแคมเปญที่ LINE มอบของรางวัลสุดเอ็กซ์คลูซีฟให้ลูกค้า นอกเหนือจากสิทธิประโยชน์เดิมที่ผู้ใช้ LINE Pay ได้รับจากธนาคารที่ร่วมรายการ

อริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้จัดการ LINE ประเทศไทยกล่าว “LINE รู้สึกยินดีเป็นอย่างมากที่ได้ร่วมงานกับแบรนด์ที่เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายและมีชื่อเสียงอย่าง Visa สำหรับแคมเปญในครั้งนี้” พร้อมเสริมว่า “เราเชื่อมั่นว่าแคมเปญนี้จะสร้างความสนุก ความตื่นเต้นให้กับผู้ใช้ LINE Pay ชาวไทย อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนวงการธุรกิจเพย์เมนต์บนมือถือในประเทศไทยให้เติบโตขึ้น ด้วยการสร้างกิจกรรมกระตุ้นให้ผู้ใช้ได้มีการทดลองและมีส่วนร่วมกับบริการ”

 

สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าว “ถึงแม้ว่าบัตรพลาสติกยังมีบทบาทสำคัญต่อผู้บริโภค ร้านค้า และสถาบันการเงิน ทั้งในการชำระและรับเงิน วีซ่าเล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้เงินผ่านช่องทางดิจิตอลเช่นกัน การชำระเงินแบบดิจิตอลควรมีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย และมีการยอมรับอย่างแพร่หลายเช่นบัตรพลาสติก วีซ่าในฐานะผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการของโอลิมปิกเกมส์ 2016 ยินดีที่ได้ร่วมมือกับ LINE ในการมอบสิทธิพิเศษให้ลูกค้า LINE Pay”

 

LINE Pay แพลตฟอร์มการชำระเงินผ่านมือถือจาก LINE อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ได้ “ช้อปง่าย จ่ายสนุก” หลังจากประสบความสำเร็จครั้งใหญ่จากแคมเปญ “อั่งเปานำโชคจาก LINE Pay” ด้วยยอดการโอนเงินเผ่านกระเป๋าเงิน LINE Pay สูงถึง 8 ล้านครั้งภายใน 7 วันเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทำให้ยอดผู้ลงทะเบียนใช้งาน LINE Pay ณ ปัจจุบันสูงถึง 1.5 ล้านคน และจำนวนร้านค้าที่ร่วมรายการทั่วประเทศเกินกว่า 250 ร้านค้าด้วยระยะเวลาที่เปิดให้บริการในประเทศไทยยังไม่ถึง 1 ปี

 

LINE จะประกาศรายชื่อผู้โชคดีแคมเปญ “Visa LINE Go for Gold” ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2559 ผ่านออฟฟิเชี่ยลแอคเคาท์ LINE ประเทศไทย และออฟฟิเชี่ยลแอคเคาท์ LINE Pay

 

 

วีซ่าร่วมกับ Luxola เปิดแคมเปญส่วนลดเอาใจนักช็อปออนไลน์ตลอดทั้งปี


VISA Luxola

การซื้อสินค้าเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ความงามทางออนไลน์จะไม่ใช่ประสบการณ์อันเลวร้ายที่ผู้ซื้อต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายแฝงหรือได้สินค้าคุณภาพไม่ดีต่อไป เพราะวีซ่าได้ร่วมมือกับ Luxola มอบสินค้าแบรนด์คุณภาพระดับโลกกับประสบการณ์การชำระเงินที่สะดวก รวดเร็วและปลอดภัยสำหรับนักช็อปออนไลน์ไทย

ผู้ถือบัตรวีซ่าจะได้รับส่วนลด 20 เปอร์เซ็นต์เมื่อซื้อเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ความงามยอดฮิตผ่านทางเว็บไซต์ Luxola.co.th เพียงแค่กรอกโค้ด “VISALX20” ตอนชำระเงินส่วนลดนี้ใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนจนถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559  นอกจากนี้ Luxola ยังมีกิจกรรมแจกของขวัญประจำเดือนสำหรับการซื้อสินค้าผ่านบัตรวีซ่ารวมถึงรับส่วนลดเพิ่มพร้อมกับของขวัญสุดพิเศษตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป

ทั้งนี้เริ่มตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558 จนถึงวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 จะมีการมอบส่วนลดผ่านโค้ด “VISALXFB” บนเฟซบุ๊คของวีซ่า (www.facebook.com/Visa) ผู้ถือบัตรวีซ่าจะได้รับของขวัญสุดพิเศษจากเมเบอลีนพร้อมกับส่วนลดเพิ่ม 20%

สิทธิพิเศษสำหรับลูกค้า Luxola ในครั้งนี้ได้เกิดขึ้นในขณะที่ตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง          เห็นได้จากผลการวิจัย Visa eCommerce Consumer Monitor ที่เพิ่งได้รับการเผยแพร่เมื่อเร็วๆนี้ พบว่าคนไทยจำนวน      ร้อยละ 70 ได้ซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ในช่วงเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา  และในจำนวนนั้นร้อยละ 42 ของนักช็อปออนไลน์เหล่านี้นิยมซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ภายในประเทศเท่านั้น

นายสมบูรณ์ ครบธีรนนท์ ผู้จัดการวีซ่าประจำประเทศไทย กล่าวว่า “การเติบโตสำหรับการซื้อสินค้าผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซของไทยในปีที่ผ่านมาสูงถึงร้อยละ 13.5 และวีซ่ายังคงผลักดันช่องทางอีคอมเมิร์ซมาโดยตลอด”สามเหตุผลหลักที่ผู้คนนิยมซื้อสินค้าออนไลน์คือ ความสะดวกสบาย (ร้อยละ 72) ความสนุกสนานเพลิดเพลินจากการซื้อสินค้าออนไลน์ (ร้อยละ 72) และข้อเสนอสุดพิเศษ (ร้อยละ 56)

สินค้าออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดใน 3 อันดับแรกได้แก่ ซื้อสินค้าพวกแฟชั่น (ร้อยละ 36) บริการการชำระบิล            (ร้อยละ 33) และซื้อเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ความงาม (ร้อยละ 28) โดยมีการชำระผ่านบัตรเครดิตและเดบิตสูงถึง ร้อยละ 56 ของการทำธุรกรรมทั้งหมด

นายโลเรนโซ่ เพรัคชิโอเน่ ผู้จัดการประจำประเทศไทยจาก Luxola กล่าวว่า “วงจรชีวิตของผู้บริโภค (Consumer Lifecycle) สำหรับผลิตภัณฑ์ด้านความงามได้เปลี่ยนผ่านไปสู่ช่องทางออนไลน์มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น นักช็อปผลิตภัณฑ์ด้านความงามได้ให้ความสนใจทั้งการซื้อสินค้าออนไลน์และการหาข้อมูลผลิตภัณฑ์ผ่านทางออนไลน์สูงถึงร้อยละ 55

ในขณะที่ผลวิจัยของวีซ่าได้แสดงให้เห็นว่าการส่งสินค้าเป็นสิ่งที่นักช็อปออนไลน์ ให้ความกังวลเป็นลำดับต้นๆ ดังนั้นผู้จำหน่ายสินค้าออนไลน์ระดับแนวหน้ารวมถึง Luxola จึงได้ปรับตัวให้เข้ากับความต้องการภายในประเทศโดยการเปิดตัวบริการจัดส่งสินค้าของเว็บไซต์ Luxola.co.th สำหรับจัดส่งสินค้าแก่ผู้บริโภคภายในประเทศ โดยจะจัดส่งสินค้าภายในวันที่ซื้อสินค้าในพื้นที่กรุงเทพฯ และจัดส่งสินค้าในวันถัดไปสำหรับพื้นที่นอกกรุงเทพฯ ทั่วประเทศไทย

การซื้อสินค้าออนไลน์สามารถทำได้อย่างสะดวก รวดเร็วและปลอดภัยโดยผ่านระบบ Verified by Visa  ที่จะปกป้องผู้ใช้จากการใช้บัตรโดยไม่ได้รับอนุญาติ (Unathorised Use) และระบบจะตรวจสอบตัวตนของผู้ใช้สำหรับการซื้อสินค้าผ่านขั้นตอนที่รวดเร็วเพียงสองขั้นตอนเท่านั้น

วีซ่าจับมือกับสถาบันทางการเงินทั่วโลกเปิดให้บริการชำระเงินผ่านมือถือ


visa

วีซ่าได้ประกาศความร่วมมือกับสถาบันทางการเงินชั้นนำทั่วโลกสำหรับบริการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยกลุ่มธนาคาร BBVA และ Cuscal คือสถาบันในลำดับต้น ๆ ที่เปิดให้บริการแอพพลิเคชั่นการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือสำหรับระบบแอนดรอยด์ นอกจากนั้นธนาคาร Banco do Brazil (BB), PNC Bank, N.A., US Bank และ Wells Fargo มีแนวโน้มที่จะเปิดให้บริการเช่นนี้ในอนาคตอันใกล้

ในการใช้บริการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือนี้ผู้บริโภคเพียงแค่ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นของสถาบันทางการเงินเหล่านั้นจาก Google Play เมื่อดำเนินการตามขั้นตอนการลงทะเบียนแบบครั้งเดียวแล้วลูกค้าของบรรดาสถาบันทางการเงินที่เข้าร่วมจะสามารถชำระเงินในร้านค้าได้ด้วยบัญชีวีซ่าโดยนำโทรศัพท์ในระบบแอนดรอย์แตะเหนือเครื่องอ่าน ความสามารถเหล่านี้คือส่วนสำคัญของแพลตฟอร์มในระบบ Visa Digital Solution ที่จะอำนวยความสะดวกให้แก่การชำระเงินและมอบความปลอดภัยสำหรับเครื่องมือและอุปกรณ์สวมใส่ที่เชื่อมต่อผ่านระบบอินเตอร์เน็ต

แซม เชลกเกอร์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสด้านดิจิตอลโซลูชั่นของวีซ่า กล่าวว่า “ปี 2015 คือปีแห่งระบบการชำระเงินผ่านโทรศัทพ์มือถือที่รวดเร็วและปลอดภัยโดยมีพื้นฐานจากการขยายตัวของเทคโนโลยีวีซ่าทั่วโลก เรามีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่แพลตฟอร์ม Digital Solutions จากวีซ่าได้เข้าถึงตลาดได้ในวงกว้างผ่านการใช้งานบนเครื่องมือที่หลากหลายและสร้างปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ประสบการณ์การค้าขายที่ปลอดภัย รวดเร็วและน่าพึงพอใจ

แพลตฟอร์ม Visa Digital Solutions

ภายในงาน Mobile World Congress 2014 ในปีที่ผ่านมา วีซ่าได้เปิดตัวเทคโนโลยีชิ้นใหม่ที่ทำให้บรรดาสถาบันทางการเงิน พ่อค้าและนักพัฒนาสามารถนำแอพพลิเคชั่นการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือมาใช้งานบนอุปกรณ์แอน-ดรอยด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อวีซ่าสามารถมอบการให้บริการของโฮสต์การ์ดอีมูเลชั่น (HCE) ซึ่งเป็นคุณสมบัติใหม่สำหรับอุปกรณ์สื่อสารในระบบแอนดรอยด์ในการใช้เทคโนโลยี NFC

การเปิดตัวในวันนี้เป็นบทพิสูจน์ถึงความสามารถในการปรับเปลี่ยนของแพลตฟอร์ม Digital Solutions จากวีซ่า ซึ่งรวมไปถึงกลุ่มของเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ (SDK) และ Visa Token Service ซึ่งเป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่จะมาแทนที่ข้อมูลการชำระเงินบนบัตรพลาสติกที่ประกอบไปด้วยเลขบัญชีจำนวน 16 หลัก วันหมดอายุและรหัสความปลอดภัยด้วยชุดของตัวเลขที่สามารถอนุมัติการชำระเงินโดยไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบัญชี Visa Token Service เป็นเทคโนโลยีที่ปูรากฐานสำหรับแอปเปิล เพย์, โฮสต์การ์ดอีมูเลชั่น (HCE), และแอพพลิเคชั่นสำหรับการชำระเงินแบบดิจิตัลอื่นๆ รวมถึงการใช้เป็นตัวอย่างในการแนะนำนวัตกรรมนี้เข้าสู่ตลาดเพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น

จอร์แดน แมคคีย์ นักวิเคราะห์อาวุโสจาก 451 Research กล่าวว่า “โฮสต์การ์ดอีมูเลชั่น (HCE) ได้สร้างนวัตกรรมแก่ระบบนิเวศการชำระเงินของแอนดรอยด์รวมถึงเพิ่มการเข้าถึงเทคโนโลยี NFC และเป็นการปูทางให้เกิดความรวดเร็วที่เพิ่มขึ้นของระบบการค้าผ่านโทรศัพท์มือถือ เทคโนโลยี NFC จะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้เกิดการแพร่หลายของระบบชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือในร้านค้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้โดยโครงการที่ 451 Research จะมีโอกาสได้รับผิดชอบนั่นจะมีมูลค่าสูงถึง 570.1 พันล้านดอลล่าห์สหรัฐภายในปี 2018”

แอนเดรีย เลิฟนีย์ ผู้จัดการทั่วไปด้านผลิตภัณฑ์และบริการของ Cuscal กล่าวว่า “เราได้ประสบการณ์ที่ดีในการร่วมงานกับวีซ่าเพื่อเปิดตัวโซลูชั่นด้านการชำระเงินที่บนระบบ HCE ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในประเทศออสเตรเลีย มีผู้ใช้เทคโนโลยีการชำระเงินแบบไร้สัมผัสสูงสุดในโลกและเราคาดหวังว่าการใช้งานของระบบ HCE จะมียอดที่สูงขึ้นในปีนี้ เรามอบทางเลือกใหม่ที่คุ้มแก่การลงทุนและเป็นนวัตกรรมการชำระเงินในระบบดิจิตอลแบบใหม่ล่าสุดให้แก่ลูกค้า และเรายังคงมุ่งมั่นที่จะเสาะหานวัตกรรมการชำระเงินใหม่ๆมามอบให้แก่ลูกค้าเพื่อให้การจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันง่ายและสะดวกรวดเร็วขึ้น”

วีซ่าเผยผลสำรวจ 66% ของผู้บริโภคชาวไทยนิยมจับจ่ายในร้านค้าที่ให้บริการชำระเงินแบบไร้สัมผัส


visa

ผลสำรวจล่าสุดที่จัดทำขึ้นโดยวีซ่าซึ่งเป็นบริษัทให้บริการเทคโนโลยีด้านการชำระเงินระดับโลกชี้ให้เห็นว่า ในขณะที่การชำระเงินแบบไร้สัมผัส (contactless payments) ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผู้บริโภคชาวไทยจำนวน 7 คนจาก 10 คนหรือ 66% ที่ได้ทำแบบสอบถามพบว่าพวกเขาชื่นชอบในการชำระเงินแบบ “wave and go” หรือการชำระเงินแบบ ”แตะบัตร” และไม่ต้องเซ็นสลิป ทั้งยังนิยมที่จะไปจับจ่ายในร้านค้าที่เปิดให้บริการในรูปแบบนี้

การศึกษาทัศนคติด้านการชำระเงินของลูกค้าในปี พ.ศ. 25571 ของวีซ่า ได้ทำการสำรวจทัศนคติในการจับจ่ายใช้สอยของผู้ถือบัตรวีซ่าในสี่ประเทศชี้ชัดว่าการชำระเงินแบบไร้สัมผัสในประเทศไทยได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับกลุ่มคนวัยทำงานในช่วงอายุตั้งแต่ 25 – 34 ปีที่ 77% โดยกลุ่มนี้เลือกที่จะช็อปในร้านค้าที่มีเทคโนโลยี “แตะบัตร” จ่ายเงิน ผ่านบริการวีซ่า เพย์เวฟ แทนร้านค้าที่ไม่มี นอกจากนั้นผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากถึง 78% ในประเทศฟิลิปปินส์  68% ในประเทศมาเลเซียและ 60% ในประเทศสิงคโปร์ยังเลือกที่จะไปจับจ่ายในร้านค้าที่มีบริการการชำระเงินแบบไร้สัมผัสให้เป็นทางเลือกแก่ลูกค้า

วันนี้ในงาน 5th Asian Payment Card Forum ที่จัดขึ้นในกรุงเทพฯ สมบูรณ์ ครบธีรนนท์ ผู้จัดการวีซ่าประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ร้านค้าจำนวนมากกำลังเปิดใช้บริการการชำระเงินแบบไร้สัมผัสในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับประเทศไทยแล้ว การชำระเงินแบบไร้สัมผัสและการไม่ต้องพกเงินสดติดตัว (cashless) ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันในขณะที่ผู้บริโภคและร้านค้าได้ตระหนักแล้วว่าการชำระเงินแบบไร้สัมผัสได้มอบความสะดวกสบายและความรวดเร็วสำหรับชีวิตที่ต้องรีบเร่งของพวกเขา

เทคโนโลยีแบบไร้สัมผัสทำให้ผู้ถือบัตรวีซ่า เพย์เวฟ สามารถชำระเงินโดยวิธี “แตะ” บัตรเหนือเครื่องรับชำระเงินโดยไม่ต้องเสียบหรือรูดบัตรและเซ็นบนสลิป การทำธุรกรรมผ่านบัตรวีซ่า เพย์เวฟ สามารถทำได้ในจำนวนเงินสูงสุด 1,500 บาทต่อครั้งด้วยมาตรการความปลอดภัยหลายขั้นตอนที่จะทำให้ผู้ถือบัตรวีซ่า เพย์เวฟ มั่นใจในการจับจ่ายใช้สอยที่สะดวกสบายและรวดเร็วด้วยประสบการณ์ของการชำระเงินที่ปลอดภัย

ผลสำรวจยังพบว่าความนิยมของการชำระเงินแบบไร้สัมผัสอยู่ในระดับสูงในประเทศสิงคโปร์ด้วยจำนวน 55% ของผู้ตอบแบบสอบถามได้ใช้เทคโนโลยีแบบไร้สัมผัส ในขณะที่ประเทศไทยผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 23% ได้ให้ข้อมูลว่าพวกเขาได้ใช้เทคโนโลยีนี้สำหรับการจับจ่ายใช้สอยเช่นกัน

เหตุผลหลักสองประการสำหรับการเลือกใช้การชำระเงินในรูปแบบไร้สัมผัสนี้คือ การทำธุรกรรมด้วยความรวดเร็วขึ้น (47%) การไม่ต้องพกเงินสด (29%) และนอกจากนั้น 44% ของผู้ใช้ในกลุ่มอายุ 60 ปีหรือมากกว่านั้นยังนิยมที่จะใช้การชำระเงินแบบไร้สัมผัสแทนการพกเงินสด

ในขณะที่อุปกรณ์สวมใส่ไฮเทคเช่น สมาร์ทวอทช์ ได้รับความนิยมมากขึ้น โดยล่าสุดค่ายมือถือยักษ์ใหญ่ แอปเปิล เปิดตัว แอปเปิล วอทช์ (Apple Watch) ที่มาพร้อมกับระบบแอปเปิล เพย์ (Apple Pay) ผู้ตอบแบบสอบถามยังได้รับการสอบถามเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์สวมใส่ไฮเทคในฐานะเป็นเครื่องมือสำหรับการชำระเงินแบบไร้สายอีกด้วย ในประเทศไทยร้อยละ 63 ของผู้ตอบแบบสอบถามมีความสนใจที่จะใช้อุปกรณ์สวมใส่ไฮเทคสำหรับการชำระเงิน มากกว่าในประเทศมาเลเซียที่ร้อยละ 56 ของผู้ตอบแบบสอบถามแสดงความสนใจเช่นเดียวกัน

 

ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับการการชำระเงินแบบไร้สัมผัสในประเทศไทย

 

ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา วีซ่า เพย์เวฟ ได้เติบโตอย่างรวดเร็วด้วยจำนวนการทำธุรกรรมการเงินผ่านบัตรวีซ่า เพย์เวฟที่โตถึงร้อยละ 155 เมื่อเปรียยบเทียบกับเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เม็ดเงินจากการทำธุรกรรมผ่านบัตรวีซ่า เพย์เวฟยังเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 77 ในช่วงเวลาเดียวกัน ข้อมูลเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการขยายตัวของช่องทางการชำระเงินแบบไร้สัมผัสสำหรับผู้ค้าสำคัญต่างๆ รวมถึงบรรดาร้านค้าและซุปเปอร์มาร์เก็ต เช่น เทสโก้ โลตัส, บิ๊กซี, และแม็กซ์แวลู นอกจากนี้ยังมี ห้างสรรพสินค้าในเครือเดอะมอลล์กรุ๊ป โรงหนังเครือเอสเอฟ ซีเนม่าและร้านอาหารต่างๆ เช่น เฮลโล คิตตี้ เฮ้าส์ และร้านแมคโดนัลด์ที่เริ่มใช้เทคโนโลยี วีซ่า เพย์เวฟ อย่างแพร่หลาย

“มากกว่าสามในห้าของผู้บริโภคชาวไทยที่พึงพอใจและยินดีที่จะจับจ่ายใช้สอยผ่านการชำระเงินแบบไร้สัมผัสซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมและเป็นทางเลือกสำหรับการชำระเงินแทนเงินสด” สมบูรณ์ กล่าวเสริม “นอกจากนี้ผลการสำรวจยังแสดงให้เห็นว่าความสะดวกสบายและความรวดเร็วของวีซ่า เพย์เวฟ นั้นสามารถที่จะมอบประสบการณ์การจับจ่ายใช้สอยที่สุดแสนประทับใจแก่ผู้ถือบัตรวีซ่าและผู้ค้าเช่นเดียวกัน นอกจากนี้แล้วการที่ผู้บริโภคนิยมทำธุรกรรมการเงินแบบไร้สัมผัสยังบ่งบอกถึงอนาคตการเงินที่การใช้จ่ายแบบอิเล็กทรอนิกส์จะมาทดแทนการใช้เงินสดในสังคมไทย”

วีซ่าและแอปเปิลเปิดศักราชใหม่แห่งการชำระเงินบนอุปกรณ์เคลื่อนที่


Apple-Pay-main1

วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนลผู้นำด้านการชำระเงินระดับโลก สนับสนุนการพัฒนาด้านการชำระเงินแก่ผู้ใช้ไอโฟน 6 ไอโฟน 6 Plus และ Apple Watch การให้บริการแบบใหม่ภายใต้ชื่อ Visa Token Service จะสามารถทำให้สถาบันทางการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกาที่เข้าร่วมการเปิดใช้บริการใหม่นี้ และสถาบันทางการเงินในประเทศอื่นๆในภายหน้า สามารถเพิ่มบัญชีบัตรเดบิตและเครดิตวีซ่าไปยัง Apple Pay ได้ การบริการด้านการชำระเงินรูปแบบใหม่จากแอปเปิลนี้จะสามารถทำให้ลูกค้าทำการซื้อขายที่แสนง่ายและปลอดภัยกับผู้ค้าสำหรับการซื้อผ่านร้านค้า และผ่านทางแอพพลิเคชั่น ในประเทศสหัฐอเมริกา

เทคโนโลยี Visa Token Service จะทำงานโดยการเปลี่ยนข้อมูลบัญชีบนบัตรชำระเงิน เป็นตัวเลขบัญชีดิจิตัล (token) ที่สามารถบันทึกบนอุปกรณ์มือถืออย่างปลอดภัยและสามารถนำไปใช้สำหรับการซื้อผ่านร้านค้า และการซื้อภายในแอพพลิเคชั่น (in app purchases) ทางวีซ่าจะให้บริการนี้แก่สถาบันทางการเงินโดยเริ่มแรกจะมีการเปิดให้บริการแก่สถาบันทางการเงินที่เข้าร่วมและจะมีการขยายการเปิดให้บริการแก่ลูกค้าทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา

มร. ชาลีย์ ชาร์ฟ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร วีซ่า กล่าวว่า “การผสมผสานระหว่างความไว้วางใจในระบบ สเกลและความปลอดภัยเครือข่ายการชำระเงินของวีซ่า เข้ากับแอปเปิล เพย์ช่วยเสริมสร้างการใช้จ่ายแบบโมบาย์ เพย์เมนต์ แบบก้าวกระโดด เทคโนโลยี token ที่คุณกำลังเห็นของวีซ่านั้นจะสร้างประสบการณ์การจับจ่ายใช้สอยรูปแบบใหม่แก่ลูกค้าและร้านค้า การร่วมมือกับแอปเปิลเป็นแค่จุดเริ่มต้องและ เรายังมีโปรเจ็คต์อื่นๆ อีกมากมายในอนาคต”

Apple Pay จะทำให้ผู้ใช้สามารถทำการซื้อขายในสโตร์ที่มีการใช้บริการบ่อยและแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ใน Apple Store เพียงผ่านการสัมผัสด้วยนิ้วมือในขณะใช้งานไอโฟน 6 ไอโฟน 6 Plus และ Apple Watch ผู้ถือบัญชีวีซ่าจะยังคงได้รับสิทธิและผลประโยชน์รวมถึงความปลอดภัยเช่นเดียวกับผู้ใช้บัตรเดบิตและเครดิตวีซ่า

ด้วยการทำให้ผู้ถือบัญชีวีซ่าสามารถทำการซื้อขายผ่านร้านค้า และภายในแอพพลิเคชั่นมือถือ (in apps) ด้วยไอโฟน 6 ใหม่นี้ ผู้ใช้ไอโฟน 6 ไอโฟน 6 Plus และ Apple Watch จะได้รับประสบการณ์การชำระเงินผ่านการใช้อุปกรณ์ต่างๆอย่างไร้รอยต่อ

มร. ชาร์ฟ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “การผสมผสานระหว่างประสบการณ์ด้านดิจิตัลแบบใหม่จาก Apple และความสามารถด้านเครือข่ายการชำระเงินที่แข็งแกร่งของวีซ่าจะมอบประสบการณ์อันยอดเยี่ยมด้านการชำระเงินพร้อมด้วยระบบความปลอดภัยที่ได้รับการพัฒนาสำหรับผู้ใช้บัญชีวีซ่ากว่าหลายล้านคน ผู้ค้าและสถาบันทางการเงินอีกจำนวนมาก

ทั้งนี้ Apple Pay ได้มีการรวมเทคโนโลยีการชำระเงินของ CyberSource และ Authorize.Net ซึ่งทั้งสองเป็นบริษัทเทคโนโลยีการชำระเงินภายใต้วีซ่าเข้าไปด้วย เพิ่มทางเลือกสำหรับการจัดการธุรกรรมเงินอย่างบูรณาการ แก่ผู้ค้าออนไลน์และช่วยให้ผู้ค้าเหล่านั้นได้รับการชำระเงินจากการซื้อสินค้า และบริการจากไอโฟน 6 ไอโฟน 6 plus และ Apple Watch อย่างปลอดภัย

“วีซ่า เพย์เวฟ” เทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยเปลี่ยนการชำระเงินของประเทศไทยสู่รูปแบบใหม่


0015

ประเทศไทยเตรียมก้าวเข้าสู่โลกของการชำระเงินผ่านระบบดิจิตอลอย่างครบวงจร โดยมี “วีซ่า เพย์เวฟ” เป็นช่องทางสำคัญในการชำระเงินโดยเฉพาะสำหรับสินค้าบริโภคและบริการที่มีราคาย่อมเยา

“วีซ่า เพย์เวฟ” ได้รับการตอบรับอย่างดีเยี่ยมจากธนาคารและร้านค้าชั้นนำ ที่นำเทคโนโลยีเข้าไปใช้ในระบบการชำระเงิน ซึ่งระบบเทคโนโลยีแบบไร้สัมผัสนี้จะช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้งานได้ง่ายมากยิ่งขึ้น   เพียงแค่ “แตะ” หรือยื่นบัตรให้อยู่ในระยะใกล้กับเครื่องรับชำระเงินแบบไร้สัมผัสเท่านั้น โดยที่ไม่ต้องรูดบัตรหรือ ลงนามใดๆ และด้วยวิธีการใช้งานที่สะดวกและรวดเร็วจึงช่วยลดระยะเวลาในการรอคิวชำระเงิน ทั้งยังสามารถ     ทำธุรกรรม โดยไม่ต้องพกเงินสดได้สูงสุดถึง 1,500 บาท

นายสมบูรณ์ ครบธีรนนท์ ผู้จัดการวีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำประเทศไทย กล่าวว่า เรามองว่า “วีซ่า เพย์เวฟ” กำลังจะกลายเป็นช่องทางการชำระเงินพื้นฐานในชีวิตประจำวันของลูกค้า โดยที่ลูกค้าไม่จำเป็นต้องพกเงินสด นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ลูกค้าและร้านค้าอีกด้วย ซึ่งแสดงให้เห็นถึงทิศทางการเติบโตของเทคโนโลยีการชำระเงินและโอกาสในอนาคต

อย่างไรก็ตาม การชำระเงินของลูกค้าก็ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การ “แตะ” บัตรเท่านั้น แต่ยังคงมีช่องทางการ           ชำระเงินรูปแบบใหม่ผ่านอุปกรณ์อื่นๆ อีกด้วย อาทิ สติ๊กเกอร์,NFC (เทคโนโลยีสื่อสารไร้สายระยะสั้น), สายข้อมือ (wristband)  และโทรศัพท์มือถือที่มีระบบ NFC ที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถจ่ายเงินได้โดยไม่ต้องยุ่งยากในการค้นหากระเป๋าเงิน

สำหรับวิวัฒนาการการชำระเงินในระบบดิจิตอลมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามอัตราการใช้สมาร์ทโฟน ควบคู่ไปกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ยกตัวอย่างเช่น การจัดเก็บข้อมูลสำคัญของบัตรของระบบคลาวด์ ซึ่งเป็นช่องทางใหม่ในการชำระเงิน อาทิ เทคโนโลยีแบบไร้สัมผัส, การชำระเงินผ่านบัตร และธุรกิจออนไลน์ โดยทั้งหมดจะรวมกันกลายเป็นแอพพลิเคชั่นการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการชำระเงินสำหรับลูกค้าทุกท่าน ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม

ด้าน มร. เบน ซอฟพิต ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม วีซ่า ประจำภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย และเอเชียใต้ กล่าวว่า การเติบโตของของการชำระเงินผ่านเทคโนโลยีดิจิตอล ได้ถูกขับเคลื่อนโดยผู้บริโภคที่ต้องการความรวดเร็วและความปลอดภัยในการทำธุรกรรมผ่านอุปกรณ์ต่างๆ โดยเฉพาะสมาร์ทโฟนที่มีส่วนเปลี่ยนพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยอย่างชัดเจน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้กลายเป็นศูนย์กลางด้านการชำระเงินผ่านระบบดิจิตอล โดยได้กลายเป็นผู้นำในตลาดโลกด้านเทคโนโลยีแบบไร้สัมผัส และสามารถได้ส่วนแบ่งทางการตลาดได้อย่างรวดเร็ว และยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง

“วีซ่า เพย์เวฟ” ไม่ได้จำกัดการใช้เฉพาะในกรุงเทพฯ เท่านั้น แต่ปัจจุบันได้ขยายไปพื้นที่อื่นๆในประเทศไทยผ่านร้านค้ารายใหญ่และร้านสะดวกซื้อทั่วประเทศ อาทิ แฟมิลี่มาร์ท, เทสโก้ โลตัส และบิ๊กซี

ปัจจุบัน “วีซ่า เพย์เวฟ” มีแนวโน้มการเติบโตที่ดีในประเทศไทย ซึ่งเห็นได้จากร้านแมคโดนัลล์ ซึ่งมีสาขาที่สามารถใช้ “วีซ่า เพย์เวฟ” มากกว่า 195 สาขา และมีอัตราของผู้ทำธุรกรรมผ่าน “วีซ่า เพย์เวฟ” เพิ่มขึ้น 260%  สำหรับบิ๊กซีและเทสโก้ โลตัส มีอัตราของผู้ทำธุรกรรมผ่าน “วีซ่า เพย์เวฟ” เพิ่มขึ้น 2.5 เท่า ในเดือนเดียวกัน

มร. ซอฟพิต กล่าวเสริมว่า ประเทศไทยคล้ายกับสิงคโปร์เมื่อสองปีที่แล้ว และการใช้ “วีซ่า เพย์เวฟ” จะมีการเติบโตไปในทิศทางเดียวกัน โดยตัวเลขล่าสุดแสดงให้เห็นว่า การทำธุรกรรมการเงิน ณ จุดขายหรือแบบหน้าร้านในประเทศสิงคโปร์มาจากการทำธุรกรรมผ่าน “วีซ่า เพย์เวฟ” ถึง 20% (เมษายน 2557)

ปัจจุบันมีผู้ออกบัตร “วีซ่า เพย์เวฟ” ทั้งหมด 4 รายในประเทศไทย ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารทหารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และเทสโก้ คาร์ด เซอร์วิสเซส จำกัดในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ยอดการชำระเงินทั้งหมดเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ซึ่งเป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่า “วีซ่า เพย์เวฟ” ได้รับการยอมรับเป็นที่แพร่หลาย นอกจากนี้ยอดการชำระเงินโดยรวมเพิ่มขึ้น 44%หรือคิดเป็น 306 บาทต่อธุรกรรม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคมีความมั่นใจที่จะใช้ “วีซ่า เพย์เวฟ” มากขึ้น ธนาคารต่างๆได้เริ่มมีผลิตภัณท์ของ “วีซ่า เพย์เวฟ”เป็นของตนเองและพร้อมที่จะนำออกมาเสนอให้เห็นกันในช่วงสิ้นปีนี้

“วีซ่า เพย์เวฟ คือก้าวแรกของแผนการทำงานของวีซ่าที่มุ่งมั่นจะนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมรูปแบบใหม่มายังประเทศไทย ด้วยการยอมรับอย่างกว้างขวางของเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือจึงแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยพร้อมที่จะก้าวข้ามไปสู่เทคโนโลยีการชำระเงินในรูปแบบของโทรศัพท์มือถือ ที่จะทำให้การชำระเงินกว้างไกลไป ทั่วประเทศได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น วีซ่าได้ร่วมลงทุนในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆไปพร้อมกับพันธมิตรของเราทั้งธนาคาร สถาบันการเงิน และร้านค้า สรุปได้ว่าการพัฒนาการทั้งหมดนี้คือจะทำอย่างไรให้เทคโนโลยีการชำระเงินในรูปแบบดิจิตอลและนั่นรวมไปถึงการชำระเงินในรูปแบบไร้สัมผัส สามารถกลายเป็นส่วนหนึ่งของการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันของผู้ถือบัตรวีซ่าได้อย่างไร้รอยต่อ” นายสมบูรณ์ กล่าวเสริม

นอกจากนี้นวัตกรรมอื่นๆ ที่วีซ่าได้ร่วมผลักดันกันสถาบันการเงินต่างๆ เช่น เทคโนโลยีการชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตอย่าง mobile point-of-sale (mPOS) ซึ่งช่วยให้ร้านค้าต่างๆไม่ว่าจะขนาดใหญ่หรือเล็กสามารถรับการชำระเงินผ่านบัตรได้ ไม่ว่าจะเป็นร้านเสื้อผ้าอินดี้ในตลาดนัดจตุจักรก็สามารถรับการชำระเงินได้ผ่านเครื่องรูดบัตรของ mPOS ที่เชื่อมต่อโดยตรงเข้ากับโทรศัทพ์มือถือหรือแท็บเล็ต แต่ยังคงความรวดเร็วและรักษาระบบความปลอดภัยได้เสถียรเหมือนใช้จ่ายผ่านบัตรที่ร้านค้าขนาดใหญ่หรือห้างสรรพสินค้า เพราะธุรกรรมต้องผ่านวีซ่าเน็ท (VisaNet) เครือข่ายประมวลและควบคุมการทำธุรกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่รองรับการชำระเงินในแต่ละปีมากกว่า 7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

วีซ่าร่วมพันธมิตรร้านค้าออนไลน์ชั้นนำขนทัพมอบสิทธิพิเศษแก่ผู้ถือบัตรวีซ่าทั่วประเทศ


Image

วีซ่าโหมกระแสธุรกรรมอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ด้วยการขนทัพสิทธิประโยชน์จากเหล่าร้านค้าออนไลน์ชั้นนำมามอบให้แก่ผู้ถือบัตรวีซ่า ไม่ว่าจะเป็น อโกด้า (Agoda) บีทูเอส (B2S) ลาซาด้า (Lazada) เอ็นโซโก้ (Ensogo) กรุ๊ปปอง (Groupon) ราคูเท็น ตลาดดอทคอม (Rakuten TARAD.com) วีเลิฟชอปปิ้ง (Weloveshopping) และซาโลร่า(Zalora)

กลยุทธ์รูปแบบใหม่นี้เกิดจากการสนับสนุนเพื่อกระตุ้นยอดใช้จ่ายในระบบอีคอมเมิร์ซผ่านบัตรวีซ่าที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว เนื่องจากผู้ถือบัตรชาวไทยเริ่มหันมาช้อปปิ้งผ่านเว็บไซต์บ่อยขึ้นทุกที่ทุกเวลา อีกทั้งผู้บริโภคยังรู้สึกปลอดภัยมากขึ้นในการช้อปปิ้งออนไลน์เนื่องจากมีระบบรองรับที่มั่นคงมากยิ่งขึ้นในประเทศ นอกจากนี้ผู้ถือบัตรวีซ่ามีการช้อปปิ้งออนไลน์มากยิ้งขึ้นเพราะวีซ่าได้มีการวางระบบที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยในระดับสากล อย่าง เวอริฟายด์บายวีซ่า (Verified by VISA) บริการรักษาความปลอดภัยอีกขั้นเพื่อใช้ตรวจสอบตัวตนของผู้ถือบัตรวีซ่าที่เช็คเอาท์

นายสมบูรณ์ ครบธีรนนท์ ผู้จัดการวีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำประเทศพม่าและไทย เชื่อมั่นว่าระบบ       อีคอมเมิร์ซในประเทศไทยได้ก้าวมาถึงจุดเปลี่ยน และอีกไม่นานยอดการช้อปออนไลน์จะไล่ตามจนสามารถขึ้นมาเทียบเท่ากับการช้อปแบบออฟไลน์ได้ สำหรับกลยุทธ์ที่จะช่วยผลักดันวิวัฒนาการของระบบนอีคอมเมิร์ซของประเทศไทยนั่น คุณสมบูรณ์ให้ความเห็นว่า โดยส่วนมากแล้วจะขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการในอุตสาหกรรมดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น วีซ่า สถาบันการเงินในประเทศ และร้านค้าออนไลน์ต่างๆ ในการร่วมมือกันทำให้ระบบอีคอมเมิร์ซในประเทศดีขึ้นเพื่อเชื่อมต่อและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคชาวไทยในปัจจุบัน

“ผลวิจัยของวีซ่าพบว่า ผู้ถือบัตรวีซ่าในภูมิภาคมากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ มีพฤติกรรมการช้อปออนไลน์ เป้าหมายหลักของเราคือการช่วยพัฒนาระบบอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยให้เติบโตมากยิ่งขึ้น พร้อมเป็นตัวกลางให้ความช่วยเหลือในการเชื่อมต่อผู้ถือบัตรทั้งในเมืองหลักและในชนบทไปยังตลาดโลก เรามีความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับธนาคารท้องถิ่นและร้านค้า เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ถือบัตรของเราจะได้รับความปลอดภัย ความสะดวกสบาย และได้รับประสบการณ์การชำระเงินแบบไร้รอยต่อ เมื่อผู้ถือบัตรจับจ่ายใช้สอยผ่านบัตรวีซ่าทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์” นายสมบูรณ์กล่าวเสริม

จากวันนี้จนถึงสิ้นปี 2556 ผู้ถือบัตรวีซ่าในประเทศไทยจะได้รับโปรโมชั่นและสิทธิประโยชน์มากมาย เมื่อช้อปออนไลน์ผ่านบัตรเครดิตหรือเดบิตของวีซ่ากับร้านค้าที่ร่วมรายการ โดยผู้ถือบัตรวีซ่าจะได้รับส่วนลดสูงสุด 10 เปอร์เซ็นต์ รับเงินคืน พิเศษกว่าด้วยสินค้าและบริการราคาพิเศษจากผู้นำด้านการท่องเที่ยว การช้อปปิ้ง และร้านอาหาร และอีกไม่กี่เดือนต่อจากนี้ วีซ่าพร้อมด้วยเหล่าพันธมิตรหลักในประเทศไทยจะร่วมกันออกโปรแกรมอีคอมเมิร์ซแบบใหม่ซึ่งให้สิทธิพิเศษมากกว่าเดิม พร้อมมอบประสบการณ์ที่แตกต่างให้กับบรรดานักช้อป

 นายชาติชาย พยุหนาวีชัย รองกรรมการผู้จัดการธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า          “อีคอมเมิร์ซในประเทศไทยมีศักยภาพสูงมาก ทัศนคติในการช้อปปิ้งช่วงวันหยุดและช่วงเทศกาลท่องเที่ยวเป็นปัจจัยหลักในการช่วยให้อีคอมเมิร์ซของประเทศเติบโตเร็วยิ่งขึ้น ด้วยการใช้จ่ายออนไลน์ผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตที่มากขึ่นเมื่อเทียบกับหลายปีที่ผ่านมา”

“ภาพรวมของการช้อปปิ้งกำลังเปลี่ยนแปลงไป ผู้คนมากมายเริ่มหันมาใช้อินเตอร์เน็ตผ่านแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนมากยิ่งขึ้น อีคอมเมิร์ซจึงกลายเป็นตลาดที่จะมีอัตราการเติบโตมากที่สุดในประเทศไทย เพราะผู้บริโภคมีการซื้อของหลากหลายผ่านทางสื่อออนไลน์ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ ซีดี สินค้าแฟขั่น หรือแม้กระทั่งของชำ ด้วยการมีพันธมิตรที่ดีอย่าง วีซ่า เราจึงเชื่อมั่นได้ว่าลูกค้าจะได้รับประสบการณ์อันดี ตั้งแต่การค้นหาไปจนถึงการช่วยเหลือลูกค้า และการชำระเงินออนไลน์ที่ได้รับความปลอดภัยสูงสุด” นายชาติชายกล่าวเพิ่มเติม

9 ใน 10 ของนักท่องเที่ยวทั่วโลกไม่สามารถออกเดินทางได้หากขาดอุปกรณ์ไอทีในกระเป๋า


Image

โทรศัพท์ (สมาร์ทโฟนและโทรศัพท์มือถือ) และกล้องดิจิตอลคอมแพคคืออุปกรณ์ไอที (gadget) ยอดฮิตติดอันดับที่นักท่องเที่ยวชาวไทยขาดไม่ได้

ด้วยความต้องการที่จะติดต่อสื่อสารตลอดเวลาไม่ว่าจะอยู่มุมไหนของโลก จึงทำให้เทคโนโลยีเปรียบเสมือนเป็นทั้งเพื่อนคู่ใจและสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับนักท่องเที่ยวในการเดินทางพักผ่อน อ้างอิงจากผลการสำรวจของวีซ่าเกี่ยวกับแผนการท่องเที่ยว ฉบับล่าสุดประจำปี พ.ศ. 2556 (Visa Travel Intention Survey 2013)  เผยให้เห็นว่าโทรศัพท์  (สมาร์ทโฟนและโทรศัพท์มือถือ) คืออันดับหนึ่งในใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่จะต้องนำติดตัวไปด้วยสำหรับการพักผ่อน (82 เปอร์เซ็นต์) ตามมาด้วยกล้องถ่ายรูป (77 เปอร์เซ็นต์) คอมพิวเตอร์ (52 เปอร์เซ็นต์) และอุปกรณ์เพื่อความบันเทิงชนิดอื่นๆ (30 เปอร์เซ็นต์)

70 เปอร์เซ็นต์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยพกพาสมาร์ทโฟนในระหว่างการท่องเที่ยว เนื่องจากอุปกรณ์ไอที (gadget) เหล่านี้สามารถใช้ค้นหาข้อมูลที่จำเป็นและยังสามารถแบ่งปันประสบการณ์การท่องเที่ยวของพวกเขาไปยังเพื่อนฝูงและครอบครัวได้ นักท่องเที่ยวเหล่านี้ยังเป็นผู้ชำนาญในการใช้เทคโนโลยี (tech-savvy) โดยมากถึง 86 เปอร์เซ็นต์เลือกที่จะเช็คอินท์ออนไลน์ในขณะที่อยู่ต่างประเทศ เทรนด์ใหม่ที่เกินขึ้นนี้ไม่ได้กำหนดอยู่เฉพาะการท่องเที่ยวเท่านั่น นอกจากนักท่องเที่ยวชาวไทยจะใช้เทคโนโลยีในการแบ่งปันประสบการณ์การท่องเที่ยวแล้ว 92 เปอร์เซ็นต์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยได้มีการอัพเดทประสบการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการท่องเที่ยวของพวกเขาหลังกลับจากทริปแล้วลงในเว็บไซต์อีกด้วย

ความเร็วและความเสถียรของอินเตอร์เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักที่นักเที่ยวใช้เลือกอุปกร์ไอที (gadget) ที่จะนำไปเที่ยวในช่วงเทศกาลวันหยุด และยังเป็นปัจจัยหลักสำหรับนักท่องเที่ยวทั่วโลก (45 เปอร์เซ็นต์) รองลงมาจากขนาดและน้ำหนักของอุปกรณ์ไอที (gadget) เพราะ 25 เปอร์เซ็นต์ของนักท่องเที่ยวทั่วโลกต้องการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านอินเตอร์เน็ตขณะเดินทางท่องเที่ยว นอกจากนี้ 83 เปอร์เซ็นต์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยเชื่อข้อมูลในอินเตอร์เน็ตในระหว่างการท่องเที่ยวและสองสิ่งที่ขาดไม่ได้คือโทรศัพท์มือถือและกล้องดิจิตอลคอมแพคที่จะต้องพกพาไปด้วยทุกครั้ง

86 เปอร์เซ็นต์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยมีการวางแผนการท่องเที่ยวโดยใช้แหล่งข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต อย่าง เว็บไซต์เกี่ยวกับรีวิวการท่องเที่ยว เว็บไซต์เกี่ยวกับผู้ให้บริการ และเว็บไซต์การท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้ 81 เปอร์เซ็นต์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยใช้อินเตอร์เน็ตในการจองสิ่งต่างๆสำหรับการท่องเที่ยวด้วยตนเอง โดยรวมแล้วนักท่องเที่ยวชาวเอเชีย-แปซิฟิกถือเป็นกลุ่มผู้ชำนาญในการใช้เทคโนโลยี (tech-savvy) เนื่องจาก 80 เปอร์เซ็นต์ใช้ข้อมูลอินเตอร์เน็ตในการวางแผนการท่องเที่ยว 76 เปอร์เซ็นต์ใช้อินเตอร์เนตในการจองสิ่งต่างๆสำหรับทริป และ 73 เปอร์เซ็นต์ใช้อินเตอร์เนตระหว่างการท่องเที่ยว

Imageนายสมบูรณ์ ครบธีรนนท์ ผู้จัดการวีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล ประจำประเทศพม่าและไทย กล่าวว่า “เทคโนโลยีได้เข้ามาเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตของคนเราในปัจจุบัน ซึ่งรวมไปถึงประสบการณ์การท่องเที่ยวด้วย โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ใช้ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตในการวางแผนการท่องเที่ยว ค้นหาข้อมูลในขณะท่องเที่ยวและแบ่งปันประสบการณ์การท่องเทียวออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดียต่างๆหลังกลับจากทริปของพวกเขา คนไทยจำนวนมากขึ้นรู้จักวางแผนและจองสิ่งต่างๆสำหรับการเดินทางผ่านทางออนไลน์ โดย 92 เปอร์เซ็นต์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยมีการแบ่งปันประสบการณ์การท่องเที่ยวออนไลน์หลังกลับจากทริป วีซ่ามีความประสงค์ที่จะช่วยเพิ่มประสบการณ์การท่องเที่ยวด้วยแคมเปญการท่องเที่ยวสุดพิเศษที่เหมาะสมกับความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวไทยสมัยใหม่”

 

วีซ่า คอนซูเมอร์ ออเทนทิเคชัน เซอร์วิส โซลูชั่นป้องกันการโจรกรรมจากระบบอีคอมเมิร์ซ


iZettle-Macworld_62390a

วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล ประกาศเปิดตัวโซลูชั่นใหม่ล่าสุดในสินค้าจำพวก อินฟอร์เมชั่น โปรดักส์ (Visa information product) เพื่อช่วยลดความเสี่ยงแก่ผู้ออกบัตรแบบทันท่วงทีในเรื่องของการโจรกรรมผ่านระบบอีคอมเมิร์ซ รวมถึงการวิเคราะห์ฐานข้อมูลความเสี่ยงของการทำธุรกรรม ซึ่งเรียกว่าวีซ่า คอนซูเมอร์ ออเทนทิเคชัน เซอร์วิส (Visa Consumer Authentication Service) โซลูชั่นชนิดนี้ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้แก่ระบบรักษาความปลอดภัยที่เรียกว่า ทรี โดเมน ซีเคียว (Three Domain Secure: 3-D secure) อย่างเวอริฟายด์บาย วีซ่า (Verified by Visa) ที่วันนี้ได้บุกตลาดพร้อมตอบสนองความต้องการในทุกแวดวงธุรกิจ และมีพร้อมให้บริการแล้วทั่วโลก

บริการตรวจสอบเพื่อรับรองความถูกต้องจากวีซ่าหรือที่เรียกว่า วีซ่า คอนซูเมอร์ ออเทนทิเคชัน เซอร์วิส จะพิสูจน์ความถูกต้องก่อนที่จะทำการอนุมัติ ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการที่สามารถป้องกันการโจรกรรมได้อย่างดีเยี่ยม โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนแรกของการทำธุรกรรมออนไลน์ของผู้บริโภคจนเข้าสู่ขั้นตอนการเช็คเอ้าท์ซึ่งถือเป็นขั้นตอนสุดท้าย โซลูชั่นตัวนี้จะเริ่มเข้าสู่การประเมินความเสี่ยงแบบทันท่วงทีจากฐานข้อมูลมากมายที่ได้บันทึกเอาไว้ อาทิ ข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์และการทำธุรกรรม และประวัติการใช้จ่ายที่ผ่านมาในอดีต ผลที่จะได้ตามมาคือผู้ออกบัตรสามารถลดความเสียงเรื่องการโจรกรรมผ่าน            อีคอมเมิร์ซ โดยไม่ต้องให้ผู้บริโภคดำเนินการผ่านขั้นตอนที่ยุ่งอยากในการใส่รหัสผ่าน (password) หรือการยืนยันในระบบอื่นๆที่ซับซ้อน โซลูชั่นตัวนี้ยังสามารถลดความยุ่งยากและลดขั้นตอน ณ จุดขาย ทั้งยังช่วยผู้ออกบัตรและร้านค้าลดจำนวนความเสียหายที่เกิดจากการฉ้อโกง

นายอินโก โนกา หัวหน้าฝ่ายบริหารความเสี่ยงของประเทศ ประจำวีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล [Ingo Noka, Head of Country Risk Management, for Visa Inc. (APCEMEA)] กล่าวว่า “วีซ่าเปิดตัว วีซ่า คอนซูเมอร์ ออเทนทิเคชัน เซอร์วิส บริการรูปแบบใหม่ที่เพิ่มระดับการป้องกันการโจรกรรมข้อมูลบัตรเครดิตจากการทำธุรกรรมทางการเงินแบบออนไลน์  โดยวีซ่า คอนซูเมอร์ ออเทนทิเคชัน เซอร์วิส นับเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างบริการทางการเงินที่นำระบบเครือข่ายของวีซ่าที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มมาตรฐานและคุณค่าให้แก่ร้านค้าและลูกค้าสถาบันการเงินได้อย่างดีเยี่ยม วีซ่าเชื่อมั่นว่าบริการดังกล่าวจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้ถือบัตรเครดิตด้านการตรวจสอบและยืนยันสถานะเพื่อลดความเสี่ยงจากการทำธุรกรรมทางการเงินได้ ผู้ถือบัตรจะผ่านขั้นตอนการตรวจสอบของ วีซ่า ที่เรียกว่า “คอนซูเมอร์ ออเทนทิเคชัน เซอร์วิส” เมื่อมีการใช้บริการ เวอริฟายด์บาย วีซ่า

วีซ่า คอนซูเมอร์ ออเทนทิเคชัน เซอร์วิส ทำหน้าที่เหมือนเซิร์ฟเวอร์คอยควบคุมการเข้าถึงข้อมูลและรักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้ออกบัตร โดยมีคุณสมบัติเด่นๆ ดังนี้

– มีระบบรองรับที่ก้าวหน้าในการคัดกรองความเสี่ยงเพื่อยืนยันตัวตนและสถานะของผู้ใช้ – โมเดลคัดกรองความเสี่ยงของ วีซ่า คอนซูเมอร์ ออเทนทิเคชัน เซอร์วิส จะเชื่อมโยงข้อมูลด้วยระบบคัดกรองข้อมูลที่สำคัญส่วนบุคคลของผู้ถือบัตรวีซ่า ข้อมูลการใช้จ่ายและการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ โดยข้อมูลเหล่านี้สามารถช่วยให้ผู้ออกบัตรเล็งเห็นแนวโน้มการเกิดโจรกรรมเพื่อตัดสินใจป้องกันและแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

– เครื่องมือตรวจสอบหลายขั้นตอนเพื่อยืนยันตัวตนและสถานะของผู้ใช้– วีซ่า คอนซูเมอร์ ออเทนทิเคชัน เซอร์วิส มีระบบยืนยันตัวตนและตรวจสอบสถานะของผู้ใช้หลายขั้นตอน เพื่อลดความเสี่ยงในการทำธุรกรรมทางการเงินแก่ผู้ใช้บริการ อาทิ ระบบรหัสผ่านแบบใช้ครั้งเดียว (One-Time Password/ OTP) หรือระบบตรวจสอบตัวตนเมื่อต้องการเข้าสู่ระบบ (Hardware Tokens)

– รองรับการใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือ – วีซ่า คอนซูเมอร์ ออเทนทิเคชัน เซอร์วิส สามารถใช้งานได้กับอุปกรณ์หลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ต เพื่อให้เป็นที่แน่ใจว่าผู้บริโภคจะได้รับประสบการณ์การชำระเงินที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น เมื่อมีการช้อปปิ้งผ่านช่องทางอื่นๆนอกเหนือจากคอมพิวเตอร์

– กฎระเบียบของกลยุทธ์การคัดกรอง – วีซ่า คอนซูเมอร์ ออเทนทิเคชัน เซอร์วิส เปิดโอกาสให้ผู้ออกบัตรสามารถเขียนกฎระเบียบเพิ่มเติม เพื่อป้องกันความปลอดภัยและลดความเสี่ยงในอนาคตได้อีกด้วย